เรื่องที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้วัสดุทำท่อส่งลมเย็น​

เรื่องที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้วัสดุทำท่อส่งลมเย็นท่อส่งลมเย็น หมายถึง ท่อที่ใช้เป็นช่องทางสำหรับขนถ่ายลมเข้าสู่ หรือ ออกจากพื้นที่ปรับอากาศและ ระบายอากาศ แต่ไม่รวมถึงกล่องลม จากประสบการณ์ของผู้เขียน ส่วนใหญ่เป็นท่อที่ใช้ส่งลมเย็นของระบบปรับอากาศวิศวกรผู้ออกแบบระบบท่อส่งลมเย็น มักจะพิจารณาในเรื่องต่างๆ ดังนี้เรื่องประสิทธิภาพของฉนวนที่หุ้มท่อส่งลมเย็นเรื่องนี้ เป็นตัวหลักในการพิจารณาเลือกใช้ฉนวนในทุกๆ งาน เนื่องจาก ถ้าคุณสมบัติของฉนวนนั้นๆ ด้อยประสิทธิภาพ ก็ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ มี 2 ประเด็นหลักๆ สำหรับการเลือกใช้1. ค่าสัมประสิทธิการนำความร้อน (ค่า k) ตัวเลขค่า k ยิ่งต่ำ หมายถึง ค่าความเป็นฉนวนยิ่งดี นำความร้อนได้แย่ ทำให้อุณหภูมิของสิ่งที่เรากำลังขนถ่ายในท่อ ได้รับการปกป้องรักษาไม่ให้แปรเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิบรรยากาศภายนอกท่อ จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมากในปัจจุบัน มีฉนวนโฟมที่ค่า k ต่ำมากๆ ตลอดอายุการใช้งานฉนวน โดยเฉพาะ ฉนวนโฟมที่เป็นวัสดุ ฟีนอลิก ซึ่งมีการทำเป็นแผ่นๆ สำเร็จ ขึ้นรูปเป็นท่อลมได้ด้วยตัวแผ่นฉนวนเอง ไม่ต้องไปหุ้มบนวัสดุอื่นอีกชั้นหนึ่ง2. อัตราการซึมผ่านของน้ำ ประเด็นนี้ จะเป็นตัวบอกว่า ฉนวนที่เราเลือกใช้ จะมีความทนทาน หรือ มีอายุการใช้งานนานเท่าไร ตัวเลขค่าการซึมผ่านของน้ำยิ่งต่ำ หมายถึง ตัวฉนวนจะซึมน้ำหรือความชื้นได้น้อยมาก หรือ ไม่สามารถเก็บความชื้นได้เลย แปลว่า ฉนวนยังคงสภาพแห้งเหมือนใหม่ได้ตลอดเวลา ในปัจจุบัน นิยมใช้ฉนวนประเภทที่เป็นโฟม และ มีลักษณะเป็นเซลล์ปิด(เซลล์ที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านแต่ละเซลล์ได้ ตัวอย่างในกรณีตรงข้าม เช่น วัสดุฟองน้ำ หรือ ใยแก้ว ใยหิน มีลักษณะเป็นเซลล์เปิด น้ำสามารถซึมผ่านทำให้วัสดุนั้น มีค่า k ที่สููงขึ้น เป็นฉนวนที่แย่ลงได้) นอกจากนี้ ฉนวนประเภทโฟมดังกล่าว ยังมีแผ่นอลูมิเนียมฟอยด์ หรือแผ่นโลหะบางๆ ปิดทับ ทำให้อัตราการซึมผ่านของน้ำในฉนวนประเภทดังกล่าว เป็น 0 ซึ่งหมายความว่า น้ำไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปในวัสดุฉนวนได้อย่างสิ้นเชิงเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพเนื่องจากท่อส่งลมเย็นเพื่อปรับอากาศ มักใช้ส่งลมเย็นไปยังพื้นที่สาธารณะ ซึ่งต้องการความปลอดภัยสูงมาก ในท่อส่งลมเย็นแบบเดิมๆ มักจะใช้ฉนวนใยหิน หรือใยแก้วมาหุ้ม ซึ่ง หากฉนวนใยหินที่ทำจากแร่ใยหิน(Abestos) ก็จะเป็นวัตถุอันตราย ใยขนาดเล็ก และ แหลมคม สามารถไปปักทิ่มแทงอยู่ในปอดของมนุษย์ได้ หากสะสมนานเข้า จะทำให้พื้นที่หายใจของปอดลดน้อยลงจากการที่เนื้อเยื่อหุ้มปอดถูกสร้างขึ้น เพื่อไปหุ้มใยหัวเข็มที่ทิ่มอยู่นั่นไว้ เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หรือ หากฉนวนใยหิน/ใยแก้ว ไม่ได้มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ก็ยังเป็นอันตรายเช่นกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ซึ่งเคยลองจับใยแก้ว(fiberglass) ปรากฎว่า ใยแก้วทิ่มนิ้วของผู้เขียน หลายแท่ง ทำให้เจ็บ และ คันด้วย ในบางหน้างาน ที่ใช้เป็นท่อส่งลมโลหะ หุ้มด้วยฉนวนใยหิน หรือ ฉนวนใยแก้วที่ปิดทับด้วยแผ่นฟอยด์ วิศวกรท่านหนึ่งแจ้งว่า ตอนทดสอบท่อลมครั้งแรก ลมที่พ่นออกมา มีเส้นใยฉนวนออกมาเป็นจำนวนมาก เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่งในปัจจุบัน ท่อส่งลมเย็น ไม่จำเป็นต้องใช้เป็นท่อโลหะ แต่มีการใช้แผ่นฉนวนโฟมชนิดที่เรียกว่า Pre-Insulated Duct(PID) ซึ่งหมายถึงเป็นแผ่นที่มีฉนวนสำเร็จรูปมาแล้วในตัว ขึ้นรูปเป็นท่อส่งลมเย็นได้ โฟมฟีนอลิกที่ใช้เป็นวัสดุฉนวนของแผ่นฉนวนนี้ มีคุณสมบัติ inert ซึ่งหมายความว่า ไม่ประกอบกับวัตถุอื่น หรือ ไม่ทำปฏิกิริยาเคมีง่ายๆ ทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ และเมื่อติดตั้งเสร็จ ตัวโฟมจะถูกปกป้องจากอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ต้องสัมผัสการรบกวนจากสิ่งแวดล้อมเรื่องความปลอดภัยต่ออัคคีภัยสิ่งที่สำคัญมากสำหรับท่อส่งลมเย็นนั้น คือเรื่องการติดไฟ หรือ การลามไฟของตัวท่อส่งลม โดยเฉพาะ เมื่อวัสดุที่เหมาะสมในการทำท่อส่งลมเย็น ในเรื่องประสิทธิภาพ และ เรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพ คือ วัสดุที่เป็นโฟม ในขณะที่โฟมมีหลายชนิด บางชนิดไหม้ไฟ แต่ไม่ลามไฟ และ บางชนิดก็ไม่ไหม้ไฟ หากมีการใช้วัสดุฉนวนที่ไม่เหมาะสม การที่วัสดุฉนวนไหม้ไฟ ก็อาจจะทำให้ไฟไปติดกับวัตถุอื่นๆ ที่อาจจะลามไฟในบริเวณใกล้เคียงได้ ยิ่งหากมีลมเข้ามาเสริมในปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้เกิดความเสียหายในทรัพย์สินมากขึ้น วิศวกรผู้มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ จะเลือกพิจารณาใช้ท่อส่งลมเย็นที่ทำจากแผ่นฉนวนโฟมสำเร็จรูป(แผ่น PID) ที่มีใบรับรองมาตรฐานความปลอดภัยในเรื่องอัคคีภัย ที่รับรองโดยบุคคลที่ 3 ที่เชื่อถือได้ในระดับนานาชาติ(ใบ certificate from 3rd party) ตามมาตรฐานดังนี้- มาตรฐาน UL 94v:1997 การทดสอบการติดไฟ (Flammability Test): ผลทดสอบ ต้องได้ Class V-0- มาตรฐาน UL 723 - 2008 การทดสอบการเผาไหม้ที่พื้นผิว และ การก่อเกิดควันไฟ (Surface Burning and Smoke Development Test):ผลการทดสอบ ต้องได้ ค่าดรรชนีการลามไฟ (Flame Spread Index) = 0, ค่าดรรชนีการก่อเกิดควันไฟ (Smoke Developed Index) = 0- มาตรฐาน ASTM E84 – 12b การทดสอบการเผาไหม้ที่พื้นผิว และ การก่อเกิดควันไฟ (Surface Burning and Smoke Development Test):ผลการทดสอบ ต้องได้ ค่าดรรชนีการลามไฟ (Flame Spread Index) = 0, ค่าดรรชนีการก่อเกิดควันไฟ (Smoke Developed Index) = 0- มาตรฐาน BS 476: Part 6, 1989 การทดสอบการแพร่ของไฟ (Fire propagation test) และมาตรฐาน BS 476: Part 7, 1997 การทดสอบการกระจายของเปลวไฟที่พื้นผิว(Surface spread of flame test): ผลการทดสอบ ต้องได้ ประเภท 0 (Class 0)การที่เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ทำท่อส่งลมเย็นที่ได้มาตรฐานต่างๆ ตามที่แนะนำ หมายความว่า วัสดุนั้น ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ และ แทบไม่มีควันไฟ มีความปลอดภัยต่ออัคคีภัยเป็นอย่างมากผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะช่วยให้ท่านมีแนวทางในการเลือกใช้ท่อส่งลมเย็นเพื่อประโยชน์สูงสุดในงานของท่านได้ เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร สภาพแวดล้อม ประเทศชาติ และ โลกของเราพรชัย เตชวัฒนสุข

สินค้าล่าสุด

PHENOLIC BOARD
PVC FLANGE
BRANCH FLANGE
PVC BAYONET
BRIDGE-SIDE FLANGE
CORNER COVER

ลิงค์

หน้าแรก

สินค้า

จุดเด่น

คุณสมบัติ

ลูกค้าอ้างอิง

บทความ

ติดต่อเรา

ติดต่อเรา

Gekko Industries Co., Ltd.50 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมดเขตจอมทอง กทม. 10150
Tel: 02-8741211, 091-4148170
Email : easyairduct@gmail.com